รักษาต้อกระจก (Phacoemulsification with IOL)?
-
โรคต้อกระจก (Cataract) เป็นภาวะที่เลนส์ภายในลูกตามีความขุ่น อาจมีสีขาวขุ่น สีเหลือง หรือสีน้ำตาล จึงทำให้แสงผ่านเข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลง ทำให้เกิดอาการตามัว มองเห็นภาพเบลอ สีเพี้ยน และมองเห็นคล้ายมีหมอกมาบังตลอดเวลา
-
ต้อกระจก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป อาจเป็นแค่ข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ เนื่องจากความเสื่อมของเลนส์ตาตามอายุ แต่สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุด้วยสาเหตุอื่นๆ เช่น การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) การกระทบกระเทือนที่ตาอย่างรุนแรง การสูบบุหรี่ การใช้ยากลุ่มสเตรียรอยด์เป็นเวลานาน มีโรคประจำตัวบางประเภท เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
-
อาการของผู้ที่เป็นต้อกระจกจะมีหลายระยะ ในระยะแรกๆ ต้อกระจกจะไม่ส่งผลต่อการมองเห็นมากนัก สีขุ่นของเลนส์ก็ยังมองเห็นได้ไม่มาก ในระยะนี้คนไข้จะสายตาสั้นลง หรือสายตาเอียงเพิ่มขึ้น จนอาจต้องเปลี่ยนแว่นเพื่อการมองเห็น
-
ต้อกระจกเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปตามธรรมชาติ ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดต้อกระจก
เทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษาต้อกระจกที่ TRSC (Cataract Surgery)
-
สลายต้อกระจก (Cataract) ด้วยคลื่นเสียง Ultrasound ความถี่สูง (Phacoemulsification) ด้วยเครื่องผ่าตัดต้อกระจกรุ่น Centurion Vision System with Active Sentry ของบริษัท ALCON ประเทศสหรัฐอเมริกา
-
เลนส์แก้วตาเทียมของบริษัท ALCON LABORATORIES
ข้อดีของการรักษาต้อกระจก (Cataract Surgery)
-
กลับไปใช้สายตาได้ด้วยการมองเห็นที่ดีขึ้น และไม่ขุ่นมัว
-
การผ่าตัดต้อกระจกเป็นการรักษาแบบถาวร และไม่มีการหมดอายุ หรือต้องคอยเปลี่ยนเลนส์ใหม่เมื่อเวลาผ่านไป
-
การผ่าตัดต้อกระจกเป็นการผ่าตัดแผลขนาดเล็กเพียง 3 mm. โดยไม่ต้องมีการเย็บแผล
-
โอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อย
-
สามารถรักษาร่วมกับการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์วิธีอื่นๆ ได้
ทีมจักษุแพทย์ TRSC
ทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาต้อกระจก นำโดย นพ. พิชิต นริพทะพันธุ์ กรรมการอาวุโส และประธานชมรมต้อกระจกและผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติแห่งประเทศไทย ในราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ พร้อมด้วย พญ.ชลธิชา จารุมาลัย และ พญ.ปัจฉิมา จันทเรนทร์