PRK (Photorefractive Keratectomy) คืออะไร?
-
PRK (Photorefractive Keratectomy) เป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ รวมถึง สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด สายตาเอียง และสายตายาวตามอายุ โดยการใช้ Excimer Laser ขัดเนื้อกระจกตาชั้นกลาง โดยไม่มีขั้นตอนการแยกชั้นกระจกตา
-
PRK เป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติวิธีแรกๆ เป็นวิธีที่มีมาก่อนการรักษาสายตาผิดปกติด้วยวิธี LASIK และยังใช้จนถึงปัจจุบัน
-
PRK เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่มีกระจกตาบาง และไม่สามารถรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยวิธีอื่นๆ ได้
-
PRK เพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพบางอาชีพ สำหรับผู้ที่มีสายตาผิดปกติ เช่น สอบนักบิน ทหาร ตำรวจ ฯลฯ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษาด้วยวิธี PRK
-
Mel 80 Excimer Laser โดยบริษัท Carl Zeiss จากประเทศเยอรมนี
ขั้นตอนการรักษาด้วยวิธี PRK
-
จักษุแพทย์จะทำการลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุด (ที่เรียกว่า Epithelium)
-
ใช้ Excimer Laser ขัดเนื้อกระจกตาชั้นกลาง เพื่อเปลี่ยนความโค้งของกระจกตา
-
ใส่คอนแทคเลนส์เพื่อช่วยลดอาการระคายเคืองประมาณ 3-5 วัน
PRK: Precursor to LASIK
-
PRK เป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ ซึ่งได้รับการพัฒนาและทำการรักษาครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2530
-
คุณวนิดา ชันซื่อ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร TRSC เป็นคนไข้ที่ได้รับการรักษาภาวะสายตาผิดปกติของตนเองด้วยวิธี PRK ในปี พ.ศ. 2532 และผลที่ได้รับจากการรักษานั้น ก่อให้เกิดความมหัศจรรย์แห่งการมองเห็นอย่างแท้จริง และเป็นแรงบันดาลใจในการก่อตั้ง "ศูนย์รักษาสายตา TRSC" ในปี พ.ศ. 2540
-
PRK ยังคงเป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติที่ให้บริการอยู่จนถึงปัจจุบัน
ผู้ที่เหมาะสมสำหรับการรักษาด้วยวิธี PRK
-
คนไข้ที่มีข้อจำกัดทางตา หรือโรคทางตาบางประเภท
-
มีกระจกตาบาง ไม่สามารถรักษาด้วยวิธี LASIK (เลสิค), FemtoLASIK, ReLEx SMILE หรือ Super ReLEx (SMILE Pro) ได้
-
มีค่าสายตาสั้นและค่าสายตาเอียงรวมกันไม่เกิน -8.00 Diopter
-
มีประวัติกระจกตาถลอกง่าย หรือมีประวัติการลอกหลุดของกระจกตา (Recurrent Corneal Erosion)
-
ข้อจำกัดทางด้านอาชีพ เช่น สอบนักบิน ทหาร ตำรวจ
-
ความโค้งกระจกตาผิดรูปไม่เหมาะกับการแยกชั้นกระจกตา
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธี PRK
-
เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระจกตาบาง
-
ลดความเสี่ยงในกรณีที่อาจจะแยกชั้นกระจกตาไม่ได้ เช่น ตาเล็ก หรือเบ้าตาลึก
-
ไม่มีรอยแยกของชั้นกระจกตา
-
เพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพบางอาชีพ เช่น สอบนักบิน ทหาร ตำรวจ
ข้อจำกัดของการรักษาด้วยวิธี PRK
-
ระยะเวลาการหายของแผลนานกว่าการรักษาภาวะสายตาผิดปกติวิธีอื่นๆ
-
จำเป็นต้องมีการใส่คอนแทคเลนส์ เพื่อลดอาการระคายเคืองของแผลหลังทำการผ่าตัดประมาณ 3-5 วัน
-
การตรวจติดตามหลังผ่าตัด ในช่วงสัปดาห์แรก จะมีความถี่มากกว่าการรักษาประเภทอื่นๆ
-
หลังทำการรักษา คนไข้จะมีความไม่สบายตา อาจมีอาการแสบตา ระคายเคืองตา ลืมตาไม่ขึ้น สู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล มองเห็นภาพไม่ชัดเจน ซึ่งระดับอาการดังกล่าว จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ บางท่านอาจรู้สึกเหมือนปกติไม่มีอาการใดๆ