ท่านทราบหรือไม่? นพ.เอกเทศ ชันซื่อ ผู้อำนวยการแพทย์ของ TRSC ไม่ได้เป็นเพียงแค่แพทย์คนแรก ๆ ที่ได้ทำการรักษา ReLEx SMILE แต่ท่านมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเครื่องมือที่ชื่อว่า "Chansue ReLEx Dissector” หรือ “CRD" เครื่องมือที่ช่วยในการรักษา ReLEx SMILE อีกด้วย
CRD คืออะไร?
"Chansue ReLEx Dissector” หรือ “CRD" คือ เครื่องมือที่ช่วยในการ Dissection and Lifting ในระหว่างทำการผ่าตัด ReLEx SMILE ซึ่งกระบวนการการผ่าตัด ReLEx SMILE นี้ จะใช้เทคโนโลยี "Femtosecond laser" ในการแยกชั้นกระจกตาในขั้นต้น ต่อมาแพทย์จะนำเครื่องมือ CRD ช่วยแยก Lenticule ออกจากชั้นกระจกตาด้านบนและล่าง
ที่มาและการพัฒนาเครื่องมือ CRD
การรักษาด้วยวิธี ReLEx SMILE มีกระบวนการรักษาที่ไม่เคยมีการรักษาในที่อื่น ๆ ที่ผ่านมา ก็คือการแยก Lenticule ในช่วงแรก ๆ จักษุแพทย์จะใช้เครื่องมือเดิมที่มีอยู่ในการแยก Lenticule แต่พบว่ากระจกตาถูกรบกวนมากเกินไป ทำให้ผลการรักษาออกมาไม่ค่อยแม่นยำ ซึ่ง นพ.เอกเทศคิดว่าหากมีเครื่องมือที่นำ Lenticule ออกมาโดยที่กระทบกระจกตาน้อยที่สุดได้ ผลการรักษาคงออกมาแม่นยำได้มากกว่านี้ จึงคิดค้นเครื่องมือ "Chansue ReLEx Dissector” หรือ “CRD" ขึ้นมา หลังจากที่ได้นำเครื่องมือ CRD มาใช้ ปรากฏว่าผลการรักษาออกมาดีขึ้นมาก อีกทั้ง นพ.เอกเทศยังไม่ขอจดลิขสิทธิ์เครื่องมือ CRD นี้เป็นของตัวเอง เพราะอยากให้เครื่องมือ CRD ถูกนำไปใช้ได้ทั่วโลก ให้ได้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด
หลังจากที่คิดค้นและพัฒนาเครื่องมือ CRD แล้ว นพ.เอกเทศได้ถูกเชิญเข้าร่วมเขียนหนังสือที่ชื่อว่า "Small Incision Lenticule Extraction (SMILE): Principles, Techniques, Complication Management, and Future Concepts" ซึ่งเป็นหนังสือตำราฉบับแรกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธี ReLEx SMILE และนอกจาก TRSC จะเป็นศูนย์เลสิคที่ทำการรักษาด้วย ReLEx SMILE จนประสบผลสำเร็จแล้ว ก็ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัท “Carl Zeiss Meditec” ซึ่งเป็นบริษัทต้นกำเนิด ReLEx SMILE จากประเทศเยอรมัน ให้ TRSC เป็น “ReLEx Educational Center” เพื่อช่วยสอนแพทย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเรื่อง ReLEx SMILE อีกด้วย จนถึงทุกวันนี้เครื่องมือ CRD ก็ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัด ReLEx SMILE ทั่วโลก
#TRSC #ReLEx #LASIK #เลสิค #เลสิก #FemtoLASIK #ReLEXSMILE #การใส่เลนส์เสริม #PIOL #รักษาสายตาสั้น #สายตายาวตามอายุ #ทำเลสิคTRSC #ศูนย์เลสิคTRSC #ReLExLASIKต่างกันอย่างไร #ReLExLASIK #รีเลกส์กับเลสิค #ต่างกันอย่างไร
Comments