top of page
LASIK.jpg

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

pngegg.png

LASIK คืออะไร?

  • เลสิค (LASIK : Laser In-Situ Keratomileusis) คือการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ รวมถึง สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด สายตาเอียง และสายตายาวตามอายุ โดยการใช้ใบมีดไมโครเคอราโตม (Microkeratome) แยกชั้นกระจกตา และ ใช้ Excimer Laser ปรับความโค้งกระจกตา

  • เป็นมาตรฐานการรักษาภาวะสายตาผิดปกติที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลกว่า 20 ปี

เทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษาด้วยวิธี LASIK

  • เครื่องแยกชั้นกระจกตา Microkeratome

  • เครื่อง Mel 80 Excimer Laser โดยบริษัท Carl Zeiss จากประเทศเยอรมนี เลเซอร์ชนิดนี้มีความยาวคลื่นสั้นในระดับอัลตราไวโอเลต (193 นาโนเมตร) และเป็นแสงเลเซอร์แบบเย็น ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับพื้นผิวที่สัมผัสเท่านั้น ไม่กระจายไปบริเวณอื่นหรือทะลุผ่านเข้าสู่ลูกตา จึงไม่เป็นอันตรายในการผ่าตัด

ขั้นตอนการรักษาด้วยวิธี LASIK

  • แยกชั้นกระจกตา ด้วยเครื่องไมโครเครราโตม (Microkeratome) หรือใช้ใบมีดในการแยกชั้นกระจกตา (flap)

  • ใช้เครื่องมือยกชั้นกระจกตาขึ้นเพื่อเตรียมพื้นที่กระจกตาชั้นกลาง ให้พร้อมสำหรับการปรับความโค้งกระจกตาด้วยเลเซอร์

  • ใช้ Excimer Laser ปรับเปลี่ยนความโค้งกระจกตา

  • ปิดกระจกตาที่แยกชั้นไว้ (flap) กลับไปที่ตำแหน่งเดิม ซึ่งกระจกตาจะสามารถสมานตัวเองได้ หลังจากที่ถูกปิดลง โดยไม่ต้องเย็บแผลใดๆ

LASIK as TRSC’s Legacy  

  • TRSC เป็นสถานพยาบาลเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย ที่ทำการรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิค (LASIK) ในปี พ.ศ. 2540

  • นายแพทย์เอกเทศ ชันซื่อ ผู้ก่อตั้ง และผู้อำนวยการแพทย์ TRSC เป็นจักษุแพทย์คนแรกที่ทำการรักษาด้วยวิธีเลสิค ในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในปี พ.ศ. 2537

  • TRSC ได้ทำการรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิค (LASIK) แล้วกว่า 40,000++ ตา (ข้อมูล ณ ธันวาคม พ.ศ. 2564)

  • เลสิค (LASIK) เป็นประเภทการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ ที่ทำการรักษามากที่สุด ที่ TRSC จนถึงปี พ.ศ. 2553 จนกระทั่งมีการรักษาด้วยวิธี ReLEx SMILE* ซึ่งเป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ เทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน

ข้อดีของการรักษาด้วยวิธี LASIK

  • เลสิคเป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติมาตรฐาน ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและมีผลรับรองกว่า 20 ปี ประมาณการณ์จำนวนผู้รับการรักษาด้วยวิธีเลสิค ทั่วโลกกว่า 40 ล้านคน 

  • สามารถรักษาปัญหาภาวะสายตาผิดปกติ สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด* สายตาเอียง และสายตายาวตามอายุได้

ข้อจำกัดของการรักษาด้วยวิธี LASIK

  • มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการแยกชั้นกระจกตา เช่น กระจกตาถลอก เป็นต้น

  • ปัจจุบันมีการรักษาภาวะสายตาผิดปกติที่ทันสมัยกว่า ซึ่งได้รับการพัฒนาจาก LASIK​

ผู้ที่เหมาะสมสำหรับการรักษาด้วยวิธี LASIK ที่ TRSC

  • มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป และมีสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี (กรณีคนไข้อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่นัดผ่าตัด กรุณานำผู้ปกครองมาเซ็นเอกสารเพื่อยินยอมการผ่าตัด TRSC สามารถปฏิเสธการผ่าตัดได้ หากไม่มีผู้ปกครองมาด้วย)

  • ไม่มีโรคของกระจกตา เช่น โรคกระจกตาย้วย ตาแห้งอย่างรุนแรง และโรคตาอย่างอื่น เช่น จอประสาทตาเสื่อม

  • ไม่มีโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรค SLE, โรค Sjogren's syndrome, โรคสะเก็ดเงิน, โรคภูมิคุ้มกันเกินอื่นๆ รวมทั้งเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี

  • ไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

  • ไม่อยู่ระหว่างการใช้ยาในการรักษาอาการทางจิตเวช

  • ผ่านการตรวจวิเคราะห์สภาพตาโดยจักษุแพทย์ของ TRSC และยืนยันว่า คนไข้มีสุขภาพตาสมบูรณ์แข็งแรง สามารถเข้ารับการรักษาได้ตามมาตรฐานความปลอดภัยสากล

  • มีความเข้าใจถึงการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ ด้วยวิธี LASIK อย่างละเอียด และมีความคาดหวังที่ถูกต้อง

การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการตรวจวิเคราะห์สภาพตา ก่อนทำการรักษา LASIK ที่ TRSC

  • งดใส่คอนแทคเลนส์ ก่อนวันตรวจวิเคราะห์สภาพตา ตามประเภทของคอนแทคเลนส์และจำนวนวันที่กำหนด สามารถใช้แว่นสายตาแทนในระหว่างที่ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์

    • คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม (Soft Lens): ต้องงดใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันตรวจวิเคราะห์สภาพตา

    • คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (Hard Lens) หรือชนิดกึ่งแข็งกึ่งนิ่ม (Semi Hard Lens): ต้องงดใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 14 วัน ก่อนวันตรวจวิเคราะห์สภาพตา

  • การหยุดยาบางประเภท​

    • ต้องหยุดยารักษาสิวชนิดรับประทานในกลุ่ม Isotretinoin เช่น Roaccutane, Acnotin, Isotret ก่อนวันตรวจวิเคราะห์สภาพตาและก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 1 เดือนเต็ม เนื่องจากยาชนิดนี้ส่งผลให้เยื่อบุตาต่างๆ แห้งกว่าปกติ รวมถึงผิวกระจกตาด้วย

    • หากใช้ยารักษาโรคประจำตัวอื่นๆ ใดอยู่ กรุณาแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบในวันตรวจ เช่น ยาเบาหวาน, ยาลดความดัน, ยาลดไขมัน, ยาไทรอยด์ และยานอนหลับทุกประเภท แต่คนไข้ยังคงใช้ยาได้ตามปกติ ไม่ต้องหยุดยาใดๆ ก่อนวันตรวจและในวันตรวจ

  • จักษุแพทย์ผู้ตรวจวิเคราะห์สภาพตา จะเป็นผู้ทำการผ่าตัดให้กับคนไข้ ดังนั้นหากคนไข้ต้องการระบุจักษุแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด กรุณานัดตรวจวิเคราะห์สภาพตากับจักษุแพทย์ท่านนั้น​​

  • การสรุปผลการตรวจวิเคราะห์สภาพตาโดยจักษุแพทย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

    • คนไข้มีสุขภาพตาสมบูรณ์แข็งแรง สามารถรักษาด้วยวิธี LASIK ได้ โอกาสสำเร็จในการรักษาและโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถนัดผ่าตัดได้ทันที หรือตามที่คนไข้สะดวก​

    • คนไข้ไม่สามารถรักษาด้วยวิธี LASIK ได้ อาจเนื่องจากเหตุผลต่างๆ จากสภาพของดวงตา สภาพร่างกาย หรือสภาพจิตใจ ฯลฯ จักษุแพทย์ผู้ตรวจอาจแนะนำทางเลือกการรักษาอื่นๆ ที่เหมาะสมกับคนไข้ต่อไป เช่น วิธี PRK, การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม (ICL) โดยจักษุแพทย์ผู้ตรวจจะให้รายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของคนไข้ต่อไป

    • คนไข้อาจจะสามารถเข้ารับการรักษาด้วยวิธี LASIK ได้ แต่ต้องมีการรักษาอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สภาพดวงตากลับสู่สภาพปกติเหมาะสมต่อการรักษา เช่น อาการตาแห้ง หรือตาอักเสบจากการแพ้คอนแทคเลนส์ หรือการตรวจตากับจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านอื่นๆ เพื่อประเมินโรคตาต่างๆ เช่น สงสัยโรคจอประสาทตา หรือสงสัยโรคต้อหิน ฯลฯ

bottom of page